สังคม ป.6 หน่วยที่ 4 เรื่องการเมืองการปกครองของไทย


สังคม ป.6 หน่วยที่ 4



 เรื่องการเมืองการปกครองของไทย

             การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นระบบการเมืองการปกครองที่ทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจลักษณะการเมืองการปกครองของไทยและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครองเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติตามระบอบประชาธิปไตย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเมืองการปกครองของไทย







การเมืองการปกครอง



   ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ 

 1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ 

 2. เป็นจอมทัพไทย 

 3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย

       1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา 

       2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี 

       3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพอำนาจอธิปไตย
                



อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ 



     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา 
                           ในรัฐสภามี 2 สภา คือ 

    1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 
       มีวาระ 4 ปี 

    2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้           แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี


          หน้าที่ของรัฐสภา 

         1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย 

         2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ 

         3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล 

         4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย 


       บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. 

       1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน 
       2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน 
       3. ร่วมกันเสนอแนะปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคม
       4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา 
       5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล 
       6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน 



     อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล 


          อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี 

       1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 
       2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน 
       3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร 
       4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร 
       5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป 
       6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ 
       7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร 
       8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
       9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้ 



     อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา 


-ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย 

-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ 

- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้  และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพการปกครองส่วนท้องถิ่น 





  1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย 

     - สำนักนายกรัฐมนตรี 

     - กระทรวง 

   - ทบวง 

     - กรม 

2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 

     - จังหวัด 

     - อำเภอ 

3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 

     - องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

     - เทศบาล 

     - สุขาภิบาล 

     - กรุงเทพมหานคร

   - เมืองพัทยา 

     - องค์การบริหารส่วนตำบล 



        การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการปกครองท้องถิ่น เป็นรูปแบบการปกครองที่จำเป็นและมีความสำคัญในทางการเมืองการปกครองของชุมชนต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่มีการปกครองระบบประชาธิปไตย ซึ่งกล่าวในทางทฤษฎีและแนวความคิดทางปกครอง จะเห็นได้ว่า รัฐบาลซึ่งเป็นกลไกในการบริหารการปกครองของรัฐนั้น ย่อมมีภาระหน้าที่อย่างมากมายในการบริหารประเทศให้ประชาชนได้รับความสุข ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต